เมนู

แล้วบ้าง. แต่เมื่อมนสิการโดยแยบคาย ในความสงบแห่งใจ กล่าวคือสมาธิ
อยู่ การละ (อุทธัจจกุกกุจจะ) ก็จะมี ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้
ตรัสไว้ว่า มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ความสงบแห่งจิต การการทำให้มาก ซึ่งโยนิ-
โสมนสิการ ในความสงบแห่งจิตนั้น นี้เป็นเหตุนำผลมาให้ (อาหารปัจจัย)
เพื่อการไม่เกิดขึ้นแห่งอุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดขึ้นบ้าง เพื่อละอุทธัจจกุกกุจจะ
ที่เกิดขึ้นแล้วบ้าง.

ธรรมสำหรับละอุทธัจจกุกกุจจะ 6 ข้อ


อีกอย่างหนึ่ง ธรรม 6 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละอุทธัจจกุกกุจจะ
คือ
1. ความเป็นพหูสูต
2. การสอบถาม
3. ความรอบรู้ (ชำนาญ) ในพระวินัย
4. การคบหาสมาคมผู้ใหญ่
5. ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร
6. การกล่าวคำที่เป็นสัปปายะ.
(อธิบายว่า) ผู้เรียน 1, 2, 3, 4 หรือ 5 นิกาย ด้วยสามารถแห่ง
บาลี และด้วยสามารถแห่งเนื้อความ (อรรถกถา) โดยความเป็นพหูสูตอยู่
ย่อมละอุทธัจจกุกกุจจะได้. ผู้มากไปด้วยการสอบถามสิ่งที่เป็นกัปปิยะและอกัป-
ปิยะบ้าง ผู้รอบรู้ เพราะความเป็นผู้ประพฤติมาจนชำนาญ ในภาระวินัยบัญญัติ
บ้าง ผู้เข้าไปหาพระเถระผู้เจริญ คือ ผู้ใหญ่บ้าง ผู้คบหากัลยาณมิตร ผู้ทรง-
พระวินัย เช่นกับพระอุบาลีเถระบ้าง ย่อมละอุทธัจจกุกกุจจะได้. ย่อมละอุทธัจจ-
กุกกุจจะได้ แม้โดยการกล่าวถ้อยคำเป็นที่สบาย ที่อาศัยสิ่งที่ควรและไม่ควร ณ